วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ประโยชน์ของจมูกข้าวสาลี
การดูแลสุขภาพทางเดินหายใจในช่วงฤดูหนาว
การดูแลสุขภาพทางเดินหายใจในช่วงฤดูหนาว
ร่างกายของเราสุดแสนมหัศจรรย์ เพราะมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมที่เย็นลงได้เป็นอย่างดี เพื่อรักษาอุณหภูมิในร่างกายให้คงที่ แต่ในบางกรณี เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะทุพโภชนาการ ผู้ที่ได้รับสารบางอย่าง โดยเฉพาะการดื่มแอลกอฮอล์ จะไม่สามารถปรับตัวได้ดีเท่าคนปกติ ซึ่งหากร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ อุณหภูมิภายในร่างกายที่เย็นลงจะทำให้มีผลต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ทำให้หัวใจเต้นช้าลง ซึม ไม่รู้สึกตัว และหากไม่ได้รับการแก้ไขอาจถึงแก่ชีวิตได้ ดังที่มีข่าวทุก ๆ ปีในช่วงฤดูหนาว
นอกจากนี้ยังพบว่ามีอุบัติการณ์การเกิดโรคบางอย่างเพิ่มขึ้น ได้แก่
1. การกำเริบของโรคประจำตัว ได้แก่ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง
2. การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หัด หัดเยอรมัน สุกใส
3. โรคระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง
โรคที่มักจะพบมากในช่วงฤดูหนาว
1. โรคภูมิแพ้
อาการ มีน้ำมูก จาม ไอ คันจมูก คันตา เมื่อสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นบางอย่าง เช่น ฝุ่น ควัน ขนสัตว์ ละอองเกสร เป็นต้น บางรายอาจมีอาการทางผิวหนังร่วมด้วย เช่น ผื่นแดงคัน ลมพิษ เป็นต้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้ในบางฤดูอาจมีอาการกำเริบมากขึ้น โดยเฉพาะฤดูฝนหรือฤดูหนาว เนื่องจากอาจมีละอองหญ้าหรือเกสรดอกไม้ในอากาศ หรือเป็นจากมีการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
การรักษา หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมภายในบ้าน รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ถ้ามีอาการมากขึ้นสามารถกินยาแก้แพ้ลดน้ำมูกได้ แต่หากอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์
2. โรคหอบหืด และ โรคถุงลมโป่งพอง
อาการ ผู้ป่วยทั้งสองโรคมักจะมีอาการกำเริบบ่อยในช่วงนี้ สำหรับ”ผู้ป่วยโรคหอบหืด” ส่วนหนึ่งจะมีโรคภูมิแพ้ร่วมด้วยอยู่แล้ว หากอาการของภูมิแพ้กำเริบ อาจกระตุ้นทำให้อาการหอบหืดกำเริบได้เช่นกัน สาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งของอาการกำเริบของโรคหอบหืดและถุงลมโป่งพอง ได้แก่ การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
การรักษา ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำร่างกายให้อบอุ่น ใช้ยาควบคุมอาการตามที่แพทย์สั่งให้สม่ำเสมอ หากมีอาการกำเริบ ได้แก่ เหนื่อยมากขึ้น หรือต้องใช้ยาพ่นระงับอาการบ่อยขึ้น ไอมากขึ้น มีเสมหะมากขึ้นหรือเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองหรือเขียว ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็ว
3. โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ได้แก่
3.1 ไข้หวัด
อาการ มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ไอ จาม มีน้ำมูก
การรักษา รักษาตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ปวดลดไข้ ยาลดน้ำมูก ดื่มน้ำมาก ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำร่างกายให้อบอุ่น ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ และอาการดังกล่าวสามารถหายได้เองในเวลา 5-10 วัน
3.2 ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (H1N1)
ประเทศไทยช่วงฤดูหนาวหรือฤดูฝน จะมีอุบัติการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่สูงสุด(ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล) โดยส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ แต่ในช่วงเดือน พ.ค. ที่ผ่านมามีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์ H1N1 ซึ่งคาดว่าจะระบาดอีกครั้งในช่วงฤดูหนาวนี้ โดย อาการของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลแต่อาจมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงมากกว่า
อาการ มีไข้สูง ปวดศีรษะมาก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก เจ็บคอ ไอ มีน้ำมูก คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว โดยผู้ป่วยจะสามารถแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนมีอาการไปจนถึง 5 วันหลังจากมีอาการ ผู้ป่วยบางราย เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ โรคอ้วน มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคถุงลมโป่งพอง หอบหืด เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง มะเร็งหรือผู้ป่วยที่กินยากดภูมิคุ้มกัน จะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากกว่าคนปกติ โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
การรักษา รักษาตามอาการ และผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายได้เองใน 1 สัปดาห์ หากไม่มีโรคแทรกซ้อน ผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวดังต่อไปนี้ หรือมีประวัติสัมผัสผู้ที่เป็นโรคหรือมีความเสี่ยง เช่น เดินทางไปประเทศที่กำลังมีการระบาด ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็ว
- ไข้สูง ปวดศีรษะมาก ปวดเมื่อยตามตัวมาก กินยาแก้ปวดลดไข้แล้วอาการไม่ดีขึ้น
- อาเจียน ถ่ายเหลว และอ่อนเพลียมาก
- หอบเหนื่อยหรือหายใจลำบาก
- เจ็บหน้าอก
- สับสนหรือซึมลง
ในผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวข้างต้น หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรได้รับการรักษา โดยใช้ยาต้านไวรัสร่วมกับการรักษาตามอาการโดยเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา นอกจากนี้ผู้ป่วยควรป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลรอบข้าง ด้วยการใช้ผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจาม พักผ่อนอยู่บ้าน ไม่ควรไปในสถานที่แออัด หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
สำหรับบุคคลทั่วไปสามารถป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ ด้วยการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดื่มน้ำมาก ๆ หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือใส่หน้าการอนามัยและล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล หากจำเป็นต้องเดินทางไปสถานที่ที่มีการระบาด หรือสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นโรค ควรสังเกตอาการของตนเองอย่างใกล้ชิด ภายใน 7 วันหลังสัมผัสโรค
การป้องกัน โดยฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง แต่ในปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ดังนั้นการฉีดวัคซีนจึงเป็นการป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่ระบาดตามฤดูกาลเท่านั้น ซึ่งบุคคลที่ควรได้รับการฉีดวัคซีน ได้แก่ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น มีอายุมากกว่า 65 ปี เป็นโรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ โรคประจำตัวเรื้อรัง อื่น ๆ เช่น เบาหวาน โรคไตวายเรื้อรัง หรือผู้ที่ต้องทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรค (แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ เป็นต้น)
โดยร่างกายจะเริ่มมีภูมิคุ้มกันหลังฉีดยาประมาณ 2 สัปดาห์ และคงอยู่ประมาณ 1 ปี ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องฉีดวัคซีนปีละครั้ง โดยช่วงเวลาที่จะฉีดในแต่ละปีควรฉีดก่อนฤดูที่จะมีการระบาด (ในประเทศไทยอาจพิจารณาฉีดในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน เพื่อป้องกันการเกิดโรคในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว)
จะเห็นได้ว่าโรคหลายโรคสามารถเกิดได้บ่อยขึ้นในช่วงฤดูหนาว และอาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาได้ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การป้องกันการเกิดโรค ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการทำร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหากมีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ประโยชน์ของจมูกข้าวสาลี
การดูแลสุขภาพทางเดินหายใจในช่วงฤดูหนาว
การดูแลสุขภาพทางเดินหายใจในช่วงฤดูหนาว
ร่างกายของเราสุดแสนมหัศจรรย์ เพราะมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมที่เย็นลงได้เป็นอย่างดี เพื่อรักษาอุณหภูมิในร่างกายให้คงที่ แต่ในบางกรณี เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะทุพโภชนาการ ผู้ที่ได้รับสารบางอย่าง โดยเฉพาะการดื่มแอลกอฮอล์ จะไม่สามารถปรับตัวได้ดีเท่าคนปกติ ซึ่งหากร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ อุณหภูมิภายในร่างกายที่เย็นลงจะทำให้มีผลต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ทำให้หัวใจเต้นช้าลง ซึม ไม่รู้สึกตัว และหากไม่ได้รับการแก้ไขอาจถึงแก่ชีวิตได้ ดังที่มีข่าวทุก ๆ ปีในช่วงฤดูหนาว
นอกจากนี้ยังพบว่ามีอุบัติการณ์การเกิดโรคบางอย่างเพิ่มขึ้น ได้แก่
1. การกำเริบของโรคประจำตัว ได้แก่ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง
2. การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หัด หัดเยอรมัน สุกใส
3. โรคระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง
โรคที่มักจะพบมากในช่วงฤดูหนาว
1. โรคภูมิแพ้
อาการ มีน้ำมูก จาม ไอ คันจมูก คันตา เมื่อสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นบางอย่าง เช่น ฝุ่น ควัน ขนสัตว์ ละอองเกสร เป็นต้น บางรายอาจมีอาการทางผิวหนังร่วมด้วย เช่น ผื่นแดงคัน ลมพิษ เป็นต้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้ในบางฤดูอาจมีอาการกำเริบมากขึ้น โดยเฉพาะฤดูฝนหรือฤดูหนาว เนื่องจากอาจมีละอองหญ้าหรือเกสรดอกไม้ในอากาศ หรือเป็นจากมีการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
การรักษา หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมภายในบ้าน รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ถ้ามีอาการมากขึ้นสามารถกินยาแก้แพ้ลดน้ำมูกได้ แต่หากอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์
2. โรคหอบหืด และ โรคถุงลมโป่งพอง
อาการ ผู้ป่วยทั้งสองโรคมักจะมีอาการกำเริบบ่อยในช่วงนี้ สำหรับ”ผู้ป่วยโรคหอบหืด” ส่วนหนึ่งจะมีโรคภูมิแพ้ร่วมด้วยอยู่แล้ว หากอาการของภูมิแพ้กำเริบ อาจกระตุ้นทำให้อาการหอบหืดกำเริบได้เช่นกัน สาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งของอาการกำเริบของโรคหอบหืดและถุงลมโป่งพอง ได้แก่ การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
การรักษา ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำร่างกายให้อบอุ่น ใช้ยาควบคุมอาการตามที่แพทย์สั่งให้สม่ำเสมอ หากมีอาการกำเริบ ได้แก่ เหนื่อยมากขึ้น หรือต้องใช้ยาพ่นระงับอาการบ่อยขึ้น ไอมากขึ้น มีเสมหะมากขึ้นหรือเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองหรือเขียว ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็ว
3. โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ได้แก่
3.1 ไข้หวัด
อาการ มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ไอ จาม มีน้ำมูก
การรักษา รักษาตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ปวดลดไข้ ยาลดน้ำมูก ดื่มน้ำมาก ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำร่างกายให้อบอุ่น ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ และอาการดังกล่าวสามารถหายได้เองในเวลา 5-10 วัน
3.2 ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (H1N1)
ประเทศไทยช่วงฤดูหนาวหรือฤดูฝน จะมีอุบัติการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่สูงสุด(ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล) โดยส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ แต่ในช่วงเดือน พ.ค. ที่ผ่านมามีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์ H1N1 ซึ่งคาดว่าจะระบาดอีกครั้งในช่วงฤดูหนาวนี้ โดย อาการของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลแต่อาจมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงมากกว่า
อาการ มีไข้สูง ปวดศีรษะมาก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก เจ็บคอ ไอ มีน้ำมูก คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว โดยผู้ป่วยจะสามารถแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนมีอาการไปจนถึง 5 วันหลังจากมีอาการ ผู้ป่วยบางราย เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ โรคอ้วน มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคถุงลมโป่งพอง หอบหืด เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง มะเร็งหรือผู้ป่วยที่กินยากดภูมิคุ้มกัน จะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากกว่าคนปกติ โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
การรักษา รักษาตามอาการ และผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายได้เองใน 1 สัปดาห์ หากไม่มีโรคแทรกซ้อน ผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวดังต่อไปนี้ หรือมีประวัติสัมผัสผู้ที่เป็นโรคหรือมีความเสี่ยง เช่น เดินทางไปประเทศที่กำลังมีการระบาด ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็ว
- ไข้สูง ปวดศีรษะมาก ปวดเมื่อยตามตัวมาก กินยาแก้ปวดลดไข้แล้วอาการไม่ดีขึ้น
- อาเจียน ถ่ายเหลว และอ่อนเพลียมาก
- หอบเหนื่อยหรือหายใจลำบาก
- เจ็บหน้าอก
- สับสนหรือซึมลง
ในผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวข้างต้น หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรได้รับการรักษา โดยใช้ยาต้านไวรัสร่วมกับการรักษาตามอาการโดยเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา นอกจากนี้ผู้ป่วยควรป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลรอบข้าง ด้วยการใช้ผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจาม พักผ่อนอยู่บ้าน ไม่ควรไปในสถานที่แออัด หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
สำหรับบุคคลทั่วไปสามารถป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ ด้วยการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดื่มน้ำมาก ๆ หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือใส่หน้าการอนามัยและล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล หากจำเป็นต้องเดินทางไปสถานที่ที่มีการระบาด หรือสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นโรค ควรสังเกตอาการของตนเองอย่างใกล้ชิด ภายใน 7 วันหลังสัมผัสโรค
การป้องกัน โดยฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง แต่ในปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ดังนั้นการฉีดวัคซีนจึงเป็นการป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่ระบาดตามฤดูกาลเท่านั้น ซึ่งบุคคลที่ควรได้รับการฉีดวัคซีน ได้แก่ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น มีอายุมากกว่า 65 ปี เป็นโรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ โรคประจำตัวเรื้อรัง อื่น ๆ เช่น เบาหวาน โรคไตวายเรื้อรัง หรือผู้ที่ต้องทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรค (แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ เป็นต้น)
โดยร่างกายจะเริ่มมีภูมิคุ้มกันหลังฉีดยาประมาณ 2 สัปดาห์ และคงอยู่ประมาณ 1 ปี ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องฉีดวัคซีนปีละครั้ง โดยช่วงเวลาที่จะฉีดในแต่ละปีควรฉีดก่อนฤดูที่จะมีการระบาด (ในประเทศไทยอาจพิจารณาฉีดในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน เพื่อป้องกันการเกิดโรคในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว)
จะเห็นได้ว่าโรคหลายโรคสามารถเกิดได้บ่อยขึ้นในช่วงฤดูหนาว และอาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาได้ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การป้องกันการเกิดโรค ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการทำร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหากมีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว