วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ถูกผีอำ' อยากรู้ว่าผีอำเกิดจากอะไร ไม่ได้เป็นผีจริงๆ ใช่ไหมคะ
ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ไขข้อสงสัยในวิทยาศาสตร์รอบตัว จากเว็บไซต์ สสวท. ว่า ความจริงแล้วอาการผีอำ คือ ล้มตัวลงนอนด้วยความเหนื่อยล้าโดยเฉพาะหลังจากทำงานหรือดูหนังสือ แม้กระทั่งดูโทรทัศน์ เมื่อเข้านอนด้วยความล้า และเกิดการประสานกันระหว่างสารเคมีกับสภาพชีวเคมีของร่างกาย ทำให้เกิดอาการทั้งกดทั้งค้าง ทำให้เราขยับเขยื้อนไม่ไหว ในขณะนั้นความจริงแล้วกำลังตื่นอยู่ สมองทำงานได้ แต่ร่างกายเราขยับเขยื้อนไม่ไหว เหมือนมีคนมาจับเราอยู่ จึงคิดเลยเถิดว่ามีผีมาจับตัวเรา
น.พ.เทอดศักดิ์ เดชคง นายแพทย์เชี่ยวชาญ กลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เขียนไว้ในเว็บไซต์ หมอชาวบ้าน ว่าผีอำเป็นปัญหาในการนอน เกิดอาการในสภาวะคล้ายๆ กับการฝัน ขณะที่ถูกผีอำคนๆ นั้นจะอยู่ในสภาวะที่ขยับตัวไม่ได้
สภาวะการหลับมี 2 ระยะ คือ non-REM เป็นช่วงที่หลับ แต่ตาไม่ได้กลอกไปมา ยังพอมีกำลังขยับตัวได้ พลิกตัวได้ ถ้าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นเราจะลุกขึ้นมาได้ แต่ในภาวะหลับตาแบบตากระตุก หรือ REM sleep จะมีการฝัน กล้ามเนื้อต่างๆ จะผ่อนคลายหมด ขยับตัวไม่ได้ยกเว้นต้องตื่นในช่วงเวลาเอง ถ้ามีสิ่งเร้าอะไรที่มาทำให้เราไม่สบาย เช่น อาจจะมีหมอนข้างมาวางอยู่บนตัวหรือขา หรืออาจจะนอนในท่าที่ไม่สบาย อยากจะออกจากสถานการณ์นั้น แต่ว่าทำไม่ได้เพราะกล้ามเนื้อมันคลายไปหมดแล้ว ก็จะเป็นสภาวะที่รู้สึกเหมือนกับว่าใครมากดทับ สักพักหนึ่งจะค่อยๆ ดีขึ้นเอง
คนที่มีอาการ 'ผีอำ' ไม่ได้เป็นความผิดปกติทางจิตใจ แต่เป็นสิ่งที่บ่งบอกในเบื้องต้นว่าเริ่มมีภาวะความเครียด ซึ่งไม่ได้เกิดอาการนี้ทุกๆ วัน ยกเว้นบางคนที่เป็นมาก แสดงว่าปัญหาเยอะ แล้วมักจะเก็บไปฝัน ถ้าตื่นขึ้นมานิดหนึ่งก็จะรู้สึกว่าขยับตัวไม่ได้ ตกอยู่ในภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น
วิธีการจัดการเมื่อถูกผีอำ คือ ผ่อนคลายความเครียดก่อนนอนสัก 1-2 ชั่วโมง อย่าไปทำอะไรที่ตื่นเต้น เช่น ดูโทรทัศน์ เล่นเกม อาจจะผ่อนคลายก่อนนอนด้วยการอาบน้ำอุ่น หรือดื่มนมอุ่นๆ โดยเฉพาะนมถั่วเหลือง จะทำให้หลับสบายขึ้น หรืออาจจะใช้วิธีสะกดจิตเข้าช่วยโดยการโปรแกรมจิตใหม่
รายที่อาการมากๆ แพทย์จะจ่ายยาคลายเครียดหรือยาต้านเศร้า จะทำให้หลับสนิทขึ้นโดยไม่ฝันมากนัก เพราะคนที่ผีอำจะฝันปนอยู่ด้วย เมื่อฝันน้อยลงจะลดอาการผีอำได้
หลักง่ายๆ เวลาโดนผีอำให้นอนเฉยๆ สักพักอาการจะหายไปเอง
ผู้ใหญ่มักจะเตือนว่าอย่านอนตอนโพล้เพล้เพราะจะถูกผีอำ น.พ.เทอดศักดิ์บอกว่าในทางวิทยาศาสตร์เวลาเย็นๆ หรือโพล้เพล้เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของแสง การเปลี่ยนแปลงของแสงนั้นเป็นสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งที่ทำให้มีปัญหาในการนอน ถ้าเรานอนตอนกลางคืนหรือกลางวันไปเลยจะไม่ค่อยมีปัญหา แต่ถ้านอนช่วงโพล้เพล้อาจจะหลับไม่สบาย หลับไม่สนิท
ผีอำ จึงไม่ใช่ผีเข้า อย่างที่เข้าใจผิดกันมา และสามารถแก้ไขได้โดยทำใจให้สบายก่อนนอน
รู้ไปโม้ด - nachart@yahoo.com
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ถูกผีอำ' อยากรู้ว่าผีอำเกิดจากอะไร ไม่ได้เป็นผีจริงๆ ใช่ไหมคะ
ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ไขข้อสงสัยในวิทยาศาสตร์รอบตัว จากเว็บไซต์ สสวท. ว่า ความจริงแล้วอาการผีอำ คือ ล้มตัวลงนอนด้วยความเหนื่อยล้าโดยเฉพาะหลังจากทำงานหรือดูหนังสือ แม้กระทั่งดูโทรทัศน์ เมื่อเข้านอนด้วยความล้า และเกิดการประสานกันระหว่างสารเคมีกับสภาพชีวเคมีของร่างกาย ทำให้เกิดอาการทั้งกดทั้งค้าง ทำให้เราขยับเขยื้อนไม่ไหว ในขณะนั้นความจริงแล้วกำลังตื่นอยู่ สมองทำงานได้ แต่ร่างกายเราขยับเขยื้อนไม่ไหว เหมือนมีคนมาจับเราอยู่ จึงคิดเลยเถิดว่ามีผีมาจับตัวเรา
น.พ.เทอดศักดิ์ เดชคง นายแพทย์เชี่ยวชาญ กลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เขียนไว้ในเว็บไซต์ หมอชาวบ้าน ว่าผีอำเป็นปัญหาในการนอน เกิดอาการในสภาวะคล้ายๆ กับการฝัน ขณะที่ถูกผีอำคนๆ นั้นจะอยู่ในสภาวะที่ขยับตัวไม่ได้
สภาวะการหลับมี 2 ระยะ คือ non-REM เป็นช่วงที่หลับ แต่ตาไม่ได้กลอกไปมา ยังพอมีกำลังขยับตัวได้ พลิกตัวได้ ถ้าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นเราจะลุกขึ้นมาได้ แต่ในภาวะหลับตาแบบตากระตุก หรือ REM sleep จะมีการฝัน กล้ามเนื้อต่างๆ จะผ่อนคลายหมด ขยับตัวไม่ได้ยกเว้นต้องตื่นในช่วงเวลาเอง ถ้ามีสิ่งเร้าอะไรที่มาทำให้เราไม่สบาย เช่น อาจจะมีหมอนข้างมาวางอยู่บนตัวหรือขา หรืออาจจะนอนในท่าที่ไม่สบาย อยากจะออกจากสถานการณ์นั้น แต่ว่าทำไม่ได้เพราะกล้ามเนื้อมันคลายไปหมดแล้ว ก็จะเป็นสภาวะที่รู้สึกเหมือนกับว่าใครมากดทับ สักพักหนึ่งจะค่อยๆ ดีขึ้นเอง
คนที่มีอาการ 'ผีอำ' ไม่ได้เป็นความผิดปกติทางจิตใจ แต่เป็นสิ่งที่บ่งบอกในเบื้องต้นว่าเริ่มมีภาวะความเครียด ซึ่งไม่ได้เกิดอาการนี้ทุกๆ วัน ยกเว้นบางคนที่เป็นมาก แสดงว่าปัญหาเยอะ แล้วมักจะเก็บไปฝัน ถ้าตื่นขึ้นมานิดหนึ่งก็จะรู้สึกว่าขยับตัวไม่ได้ ตกอยู่ในภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น
วิธีการจัดการเมื่อถูกผีอำ คือ ผ่อนคลายความเครียดก่อนนอนสัก 1-2 ชั่วโมง อย่าไปทำอะไรที่ตื่นเต้น เช่น ดูโทรทัศน์ เล่นเกม อาจจะผ่อนคลายก่อนนอนด้วยการอาบน้ำอุ่น หรือดื่มนมอุ่นๆ โดยเฉพาะนมถั่วเหลือง จะทำให้หลับสบายขึ้น หรืออาจจะใช้วิธีสะกดจิตเข้าช่วยโดยการโปรแกรมจิตใหม่
รายที่อาการมากๆ แพทย์จะจ่ายยาคลายเครียดหรือยาต้านเศร้า จะทำให้หลับสนิทขึ้นโดยไม่ฝันมากนัก เพราะคนที่ผีอำจะฝันปนอยู่ด้วย เมื่อฝันน้อยลงจะลดอาการผีอำได้
หลักง่ายๆ เวลาโดนผีอำให้นอนเฉยๆ สักพักอาการจะหายไปเอง
ผู้ใหญ่มักจะเตือนว่าอย่านอนตอนโพล้เพล้เพราะจะถูกผีอำ น.พ.เทอดศักดิ์บอกว่าในทางวิทยาศาสตร์เวลาเย็นๆ หรือโพล้เพล้เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของแสง การเปลี่ยนแปลงของแสงนั้นเป็นสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งที่ทำให้มีปัญหาในการนอน ถ้าเรานอนตอนกลางคืนหรือกลางวันไปเลยจะไม่ค่อยมีปัญหา แต่ถ้านอนช่วงโพล้เพล้อาจจะหลับไม่สบาย หลับไม่สนิท
ผีอำ จึงไม่ใช่ผีเข้า อย่างที่เข้าใจผิดกันมา และสามารถแก้ไขได้โดยทำใจให้สบายก่อนนอน
รู้ไปโม้ด - nachart@yahoo.com
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น