4 วิธีพัฒนา “อีคิว”
สู่วิถีผู้มี “สุขภาพจิตดี” ช่วยการดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ มีสุข เพียงหมั่นฝึกทักษะ 4 วิธี
นอกจากไอคิว (I.Q.) แล้ว ความฉลาดทางอารมณ์ หรือ อีคิว (E.Q.) ถือเป็นส่วนสำคัญต่อวัยเรียนอย่างมาก ซึ่งการเข้าใจ รู้จักแยกแยะ ควบคุม และแสดงอารมณ์ถูกต้องตามกาลเทศะได้นั้น จะช่วยเสริมสุข สร้างสมดุลของชีวิต ทั้งยังสามารถเผชิญความคับข้องใจ และแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างราบรื่น โดยทักษะดังกล่าว สร้างได้ง่าย ๆ ดังนี้
เริ่มจาก “ฝึกสมาธิ” จะช่วยจัดระเบียบความคิด ส่งเสริมสมรรถภาพทางใจ ทำให้มั่นคงทางอารมณ์ สงบ หนักแน่น เยือกเย็น ทั้งยังคลายเครียด เป็นเครื่องเสริมประสิทธิภาพในการศึกษาเล่าเรียน นอกจากนั้น การออกกำลังกาย เล่นดนตรี ปลูกต้นไม้ ก็เป็นผลดีเช่นกัน
“ฝึกระงับอารมณ์” ยามเจอสถานการณ์ตึงเครียด ด้วยวิธีต่าง ๆ อาทิ กำหนดลมหายใจให้สติอยู่กับตัว โดยหายใจเข้า-ออกยาว ๆ, นับ 1-10 หรือ นับต่อเรื่อย ๆ จนรู้สึกสงบ หรือ ปลีกตัวออกมาชั่วคราว เป็นต้น ซึ่งหัวใจหลักคือ ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง โกรธก็รู้ว่าโกรธ แต่สามารถควบคุมความโกรธนั้นได้ และหาวิธีจัดการอย่างเหมาะสม
“ละทิ้งพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ” และค่อย ๆ ปรับปรุงตนเอง รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ฝึกเป็นผู้พูด-ผู้ฟังที่ดี และไม่ลืมที่จะใส่ใจความรู้สึกผู้อื่น
“ยอมรับความบกพร่อง” เนื่องจากสิ่งที่หวังอาจไม่เป็นอย่างที่คิด 100% ดังนั้น ทักษะข้อนี้ จะช่วยให้ไม่เครียด ไม่ทุกข์ ไม่ผิดหวังมากเกินไป ขณะเดียวกัน ลองมองเป็นความท้าทาย เพื่อสร้างพลังใจต่อสู้กับอุปสรรคให้ผ่านพ้นไปได้
ทักษะข้างต้น เป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนให้เกิดได้ เหมาะอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตท่ามกลางวิกฤติปัญหาปัจจุบัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555
4 วิธีพัฒนา “อีคิว”
4 วิธีพัฒนา “อีคิว”
สู่วิถีผู้มี “สุขภาพจิตดี” ช่วยการดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ มีสุข เพียงหมั่นฝึกทักษะ 4 วิธี
นอกจากไอคิว (I.Q.) แล้ว ความฉลาดทางอารมณ์ หรือ อีคิว (E.Q.) ถือเป็นส่วนสำคัญต่อวัยเรียนอย่างมาก ซึ่งการเข้าใจ รู้จักแยกแยะ ควบคุม และแสดงอารมณ์ถูกต้องตามกาลเทศะได้นั้น จะช่วยเสริมสุข สร้างสมดุลของชีวิต ทั้งยังสามารถเผชิญความคับข้องใจ และแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างราบรื่น โดยทักษะดังกล่าว สร้างได้ง่าย ๆ ดังนี้
เริ่มจาก “ฝึกสมาธิ” จะช่วยจัดระเบียบความคิด ส่งเสริมสมรรถภาพทางใจ ทำให้มั่นคงทางอารมณ์ สงบ หนักแน่น เยือกเย็น ทั้งยังคลายเครียด เป็นเครื่องเสริมประสิทธิภาพในการศึกษาเล่าเรียน นอกจากนั้น การออกกำลังกาย เล่นดนตรี ปลูกต้นไม้ ก็เป็นผลดีเช่นกัน
“ฝึกระงับอารมณ์” ยามเจอสถานการณ์ตึงเครียด ด้วยวิธีต่าง ๆ อาทิ กำหนดลมหายใจให้สติอยู่กับตัว โดยหายใจเข้า-ออกยาว ๆ, นับ 1-10 หรือ นับต่อเรื่อย ๆ จนรู้สึกสงบ หรือ ปลีกตัวออกมาชั่วคราว เป็นต้น ซึ่งหัวใจหลักคือ ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง โกรธก็รู้ว่าโกรธ แต่สามารถควบคุมความโกรธนั้นได้ และหาวิธีจัดการอย่างเหมาะสม
“ละทิ้งพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ” และค่อย ๆ ปรับปรุงตนเอง รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ฝึกเป็นผู้พูด-ผู้ฟังที่ดี และไม่ลืมที่จะใส่ใจความรู้สึกผู้อื่น
“ยอมรับความบกพร่อง” เนื่องจากสิ่งที่หวังอาจไม่เป็นอย่างที่คิด 100% ดังนั้น ทักษะข้อนี้ จะช่วยให้ไม่เครียด ไม่ทุกข์ ไม่ผิดหวังมากเกินไป ขณะเดียวกัน ลองมองเป็นความท้าทาย เพื่อสร้างพลังใจต่อสู้กับอุปสรรคให้ผ่านพ้นไปได้
ทักษะข้างต้น เป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนให้เกิดได้ เหมาะอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตท่ามกลางวิกฤติปัญหาปัจจุบัน
สู่วิถีผู้มี “สุขภาพจิตดี” ช่วยการดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ มีสุข เพียงหมั่นฝึกทักษะ 4 วิธี
นอกจากไอคิว (I.Q.) แล้ว ความฉลาดทางอารมณ์ หรือ อีคิว (E.Q.) ถือเป็นส่วนสำคัญต่อวัยเรียนอย่างมาก ซึ่งการเข้าใจ รู้จักแยกแยะ ควบคุม และแสดงอารมณ์ถูกต้องตามกาลเทศะได้นั้น จะช่วยเสริมสุข สร้างสมดุลของชีวิต ทั้งยังสามารถเผชิญความคับข้องใจ และแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างราบรื่น โดยทักษะดังกล่าว สร้างได้ง่าย ๆ ดังนี้
เริ่มจาก “ฝึกสมาธิ” จะช่วยจัดระเบียบความคิด ส่งเสริมสมรรถภาพทางใจ ทำให้มั่นคงทางอารมณ์ สงบ หนักแน่น เยือกเย็น ทั้งยังคลายเครียด เป็นเครื่องเสริมประสิทธิภาพในการศึกษาเล่าเรียน นอกจากนั้น การออกกำลังกาย เล่นดนตรี ปลูกต้นไม้ ก็เป็นผลดีเช่นกัน
“ฝึกระงับอารมณ์” ยามเจอสถานการณ์ตึงเครียด ด้วยวิธีต่าง ๆ อาทิ กำหนดลมหายใจให้สติอยู่กับตัว โดยหายใจเข้า-ออกยาว ๆ, นับ 1-10 หรือ นับต่อเรื่อย ๆ จนรู้สึกสงบ หรือ ปลีกตัวออกมาชั่วคราว เป็นต้น ซึ่งหัวใจหลักคือ ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง โกรธก็รู้ว่าโกรธ แต่สามารถควบคุมความโกรธนั้นได้ และหาวิธีจัดการอย่างเหมาะสม
“ละทิ้งพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ” และค่อย ๆ ปรับปรุงตนเอง รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ฝึกเป็นผู้พูด-ผู้ฟังที่ดี และไม่ลืมที่จะใส่ใจความรู้สึกผู้อื่น
“ยอมรับความบกพร่อง” เนื่องจากสิ่งที่หวังอาจไม่เป็นอย่างที่คิด 100% ดังนั้น ทักษะข้อนี้ จะช่วยให้ไม่เครียด ไม่ทุกข์ ไม่ผิดหวังมากเกินไป ขณะเดียวกัน ลองมองเป็นความท้าทาย เพื่อสร้างพลังใจต่อสู้กับอุปสรรคให้ผ่านพ้นไปได้
ทักษะข้างต้น เป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนให้เกิดได้ เหมาะอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตท่ามกลางวิกฤติปัญหาปัจจุบัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น