แน่นอน คุณรู้ว่า "ธนบัตร" มีค่า แต่คุณรู้ไหมครับว่านอกจาก "ค่า" คือราคาของตัวเองแล้ว "ธนบัตร" ยังมี "คุณค่า"เพราะ "หลังธนบัตร" มีสิ่งดีๆที่สอนเราอยู่
แต่เราไม่เคย "อ่าน" นอกเหนือจากไม่ค่อยสังเกตุว่า "หลังธนบัตร" แต่ละราคาเป็นภาพของกษัตริย์องค์ไหน
ผมเลยขอนำ"คุณค่า"หลังธนบัตรมาบอก..
แต่เราไม่เคย "อ่าน" นอกเหนือจากไม่ค่อยสังเกตุว่า "หลังธนบัตร" แต่ละราคาเป็นภาพของกษัตริย์องค์ไหน
ผมเลยขอนำ"คุณค่า"หลังธนบัตรมาบอก..
ธนบัตร ๒o บาท ...คุณรู้ไหมว่าเป็นภาพของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ไหน
คำตอบก็คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล และ "คุณค่า" หลังธนบัตรนี่ มีข้อความว่า
"ถ้าคนไทยทุกคน ถือว่าตนเองเป็นเจ้าของชาติบ้านเมือง และต่างปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดี ด้วยความสุจริตและถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรมแล้ว ความทุกข์ยากของบ้านเมือง ก็จะผ่านพ้นไปได้"
คำตอบก็คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล และ "คุณค่า" หลังธนบัตรนี่ มีข้อความว่า
"ถ้าคนไทยทุกคน ถือว่าตนเองเป็นเจ้าของชาติบ้านเมือง และต่างปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดี ด้วยความสุจริตและถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรมแล้ว ความทุกข์ยากของบ้านเมือง ก็จะผ่านพ้นไปได้"
มาถึงแบงก์ร้อย ส่วนใหญ่คงจำกันแม่นว่า "หลังธนบัตร" สีแดงใบละร้อย เป็นภาพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยะมหาราช แต่คุณเคยรู้ "คุณค่า" หลังธนบัตรนี้ไหม คำตอบนี่ครับ.. "ประเพณีทาสที่มีอยู่ในพระราชอาณาจักรสยาม ถึงเป็นวิธีทาสทำสารกรมธรรม์ ขายตัวด้วยใจสมัคร มิใช่ทาสเชลย ที่เป็นการกดขี่อย่างร้ายแรงก็จริง แต่เป็นเครื่องกีดขวางทางเจริญ ประโยชน์และสุขสำราญ ของมหาชนอยู่อย่างหนึ่ง ซึ่งจำเป็นจะต้องเลิกถอน อย่าให้มีประเพณีทาสในพระราชอาณาจักรนี้ กรุงสยามจึงจะมีความสมบูรณ์เท่าทันประเทศอื่น" |
แบงก์ ๕oo ล่ะ ใช้ธนบัตรสีม่วง รู้ไหมเป็นภาพพระองค์ไหน แน่นอนว่าหลายคนคงนึกไม่ออก ..เพราะเป็น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชดำรัสไว้ในเราทราบคือ.. "การงานสิ่งใดของเขาที่ดี ควรจะเรียนร่ำเอาไว้ ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปเสียทีเดียว" |
แบงก์ใหญ่ที่สุด ธนบัตรใบละ ๑ooo บาท หลายคนทราบดีว่าเป็นภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่เคย "อ่าน" สิ่งที่มี "คุณค่า" หลังธนบัตรไหม เศรษฐกิจแบบพอเพียง … เศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่าอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง นี่คือ"คุณค่า"หลังธนบัตรที่เราไม่ค่อยสังเกตุกัน |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น