วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โรคร้ายใกล้ตัวที่น่ากลัวกว่าไข้หวัดใหญ่ 2009

โรคร้ายใกล้ตัวที่น่ากลัวกว่าไข้หวัดใหญ่ 2009

โรคMONEYPHILIAหรือโรคทรัพย์จางมีศัพท์ทางวิชาการว่า MONEYPHILIA เป็นคำสมาสระหว่างคำว่า MONEY และ PHILIA มีลักษณะคล้ายกับโรค HEMOPHILIA ซึ่งโรค HEMOPHILIA ผู้ป่วยจะมีอาการเลือดไหลไม่หยุด และโรคชนิดนี้มิได้ติดต่อทางพันธุกรรม แต่ MONEYPHILIA เป็นโรคที่เงินไหล ออกจากกระเป๋าไม่หยุด จนเกิดทรัพย์จางได้

การติดต่อ

โรคนี้มิได้ติดต่อทางพันธุกรรมเช่นกัน แต่ติดต่อกันเฉพาะกลุ่มบุคคลที่มีรายได้น้อย ถึงปานกลาง ซึ่งไม่สามารถจัดสรรรายได้ให้ได้ ส่วน กับรายจ่าย ว่ากันง่าย ๆ ก็คือรายจ่ายมากกว่ารายได้นั่นเอง ในทุกวันนี้โรคดังกล่าวได้เริ่มระบาดในหมู่คนไทยที่มีรายได้น้อย ถึงรายได้ปานกลางมาสองสามปีแล้ว ทำให้ส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจในการดำเนินชีวิต ตลอดจนบั่นทอนความเจริญก้าวหน้า ในหน้าที่การงาน บั่นทอนสุขภาพ บั่นทอนชีวิตครอบครัวและสังคมโดยร่วม ดังนั้น เราจึงควรศึกษาร ายละเอียดของโรคนี้ เพื่อหาวิธีหลีกเลี่ยงหรือป้องกันแต่เนิน


ระยะฟักตัวของโรค

เชื้อจะเริ่มฟักตัวประมาณวันที่ 15 ของเดือน แต่ก็ไม่แน่ทุกคนไป เพราะบางคนเชื้ออาจจะเริ่มฟักตัวได้ตั้งแต่วันที่ 5 ของเดือนก็มี และบางรายอาการรุนแรงจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนทีเดียว อาการจะปรากฏเร็วหรือช้า รุนแรงหรือไม่รุนแรง ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ และชนิดรายได้ของแต่ละบุคคล ซึ่งแบ่งตามพฤติกรรมในการจับจ่ายใช้สอยของผู้ป่วย อีกทั้งขึ้นอยู่กับลักษณะของโรคแทรกซ้อนที่มือด้วย ว่าเป็นโรคมือเติบหรือไม่ หากเป็นโรคมือเติบด้วย จะยิ่งทำให้การรักษา หรือป้องกันเป็นไปได้ยาก และระยะฟักตัวของโรคก็จะรวดเร็ว อีกทั้งอาการก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น


อาการ

ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเหม่อลอย ไม่สบตาผู้อื่นโดยเฉพาะเจ้าหนี้ เหงื่อซึมออกตลอดเวลา หงุดหงิด สูญเสียความเชื่อมั่น ไร้สมาธิในการทำงาน เบื่ออาหาร หิวแต่ทานไม่ลง เพราะอาหารน้อย คุณภาพต่ำเนื่องจากด้อยกำลังซื้อ รสชาติไม่ถูกปาก ผู้ป่วยบางรายมีอาการรุนแรงถึงกับทำอัตวินิบาตกรรม บางรายมีอาการผวาเมื่อถูกเรียกชื่อ พวกที่มีอาการรุนแรงบางจำพวกจะทำการประชดชีวิตโดยการเดินมาทำงาน แทนการโดยสารรถประจำทาง หรือแท็กซี่ หรือพยายามขึ้นรถโดยสารที่มีคนแน่นมาก ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับกระเป๋ารถเมล์ หรือเพื่อที่จะได้หลบหล ีกระหว่างบันไดหน้ากับบันไดหลังสลับไปมาได้รวดเร็ว และ ทันท่วงที อีกทั้งเพื่อพยายามให้ได้รับอากาศที่ปลอดโปร่ง จะได้กินลมเพื่อลดอาการหน้ามืด


การป้องกัน

ไม่ควรนำเด็กหรือสัตว์เลี้ยงเข้าใกล้ เมื่อผู้ป่วยมีอาการหงุดหงิด มิฉะนั้นจะได้รับอันตรายจากผู้ป่วยได้ ไม่ควรนำของมีค่าเข้าใกล้ในระยะสายตาและมือเอื้อมถึง


การรักษา

ยังไม่มียาชนิดใดที่จะบำบัดโรคนี้ได้โดยตรงในปัจจุบัน แต่สามารถรักษาได้ตามอาการที่ปรากฏ เช่นผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ (เป็นกันโดยมาก) ก็ควรใช้ยาลดไข้ 1-2 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมง ได้แก่ยาพาราเซตามอล ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะ

ถ้าผู้ป่วยมีอาการหงุดหงิด กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ควรใช้ยาคลายประสาท ตามที่แพทย์แนะนำ ห้ามใช้เกินขนาด เพราะจะเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้ (ห้ามใช้สตริกนินโดยเด็ดขาด)

ควรให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกาย พักผ่อน ในที่ลับตาคน อย่าพาผู้ป่วยออกนอกบ้าน เพราะอาจเผชิญหน้ากับเจ้าหนี้ได้ การกระทำเช่นนี้นอกจากจะไม่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นแล้ว กลับจะมีอาการทรุดหนักลงเรื่อย ๆ อาการดูน่าเป็น ห่วงอยู่ไม่น้อย แต่อาการของผู้ป่วยจะกระเตื้อง ตื่นเต้นได้อีกครั้งก็ถึงตอนปลายเดือนนั้น ๆ แต่บางรายก็ไม่ดีขึ้น กลับทรุดหนักลงไปอีก เนื่องจากการอักเสบของดอกเบี้ย

ไม่ควรนำผู้ป่วยไปรักษายังโรงพยาบาลเอกชนเพราะอาจจะทำให้เกิดอาการช็อคได้ เมื่อเห็นใบแจ้งหนี้ ทางที่ดีควรนำไปรักษายังสถานธนานุเคราะห์,สถานธนานุบาล โดย ให้ผู้ป่วยนำของที่มีค่าติดตัวไปด้วย ซึ่งเป็นการรักษาอย่างปัจจุบัน ทันด่วน และตรงตามอาการของโรคมากที่สุด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โรคร้ายใกล้ตัวที่น่ากลัวกว่าไข้หวัดใหญ่ 2009

โรคร้ายใกล้ตัวที่น่ากลัวกว่าไข้หวัดใหญ่ 2009

โรคMONEYPHILIAหรือโรคทรัพย์จางมีศัพท์ทางวิชาการว่า MONEYPHILIA เป็นคำสมาสระหว่างคำว่า MONEY และ PHILIA มีลักษณะคล้ายกับโรค HEMOPHILIA ซึ่งโรค HEMOPHILIA ผู้ป่วยจะมีอาการเลือดไหลไม่หยุด และโรคชนิดนี้มิได้ติดต่อทางพันธุกรรม แต่ MONEYPHILIA เป็นโรคที่เงินไหล ออกจากกระเป๋าไม่หยุด จนเกิดทรัพย์จางได้

การติดต่อ

โรคนี้มิได้ติดต่อทางพันธุกรรมเช่นกัน แต่ติดต่อกันเฉพาะกลุ่มบุคคลที่มีรายได้น้อย ถึงปานกลาง ซึ่งไม่สามารถจัดสรรรายได้ให้ได้ ส่วน กับรายจ่าย ว่ากันง่าย ๆ ก็คือรายจ่ายมากกว่ารายได้นั่นเอง ในทุกวันนี้โรคดังกล่าวได้เริ่มระบาดในหมู่คนไทยที่มีรายได้น้อย ถึงรายได้ปานกลางมาสองสามปีแล้ว ทำให้ส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจในการดำเนินชีวิต ตลอดจนบั่นทอนความเจริญก้าวหน้า ในหน้าที่การงาน บั่นทอนสุขภาพ บั่นทอนชีวิตครอบครัวและสังคมโดยร่วม ดังนั้น เราจึงควรศึกษาร ายละเอียดของโรคนี้ เพื่อหาวิธีหลีกเลี่ยงหรือป้องกันแต่เนิน


ระยะฟักตัวของโรค

เชื้อจะเริ่มฟักตัวประมาณวันที่ 15 ของเดือน แต่ก็ไม่แน่ทุกคนไป เพราะบางคนเชื้ออาจจะเริ่มฟักตัวได้ตั้งแต่วันที่ 5 ของเดือนก็มี และบางรายอาการรุนแรงจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนทีเดียว อาการจะปรากฏเร็วหรือช้า รุนแรงหรือไม่รุนแรง ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ และชนิดรายได้ของแต่ละบุคคล ซึ่งแบ่งตามพฤติกรรมในการจับจ่ายใช้สอยของผู้ป่วย อีกทั้งขึ้นอยู่กับลักษณะของโรคแทรกซ้อนที่มือด้วย ว่าเป็นโรคมือเติบหรือไม่ หากเป็นโรคมือเติบด้วย จะยิ่งทำให้การรักษา หรือป้องกันเป็นไปได้ยาก และระยะฟักตัวของโรคก็จะรวดเร็ว อีกทั้งอาการก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น


อาการ

ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเหม่อลอย ไม่สบตาผู้อื่นโดยเฉพาะเจ้าหนี้ เหงื่อซึมออกตลอดเวลา หงุดหงิด สูญเสียความเชื่อมั่น ไร้สมาธิในการทำงาน เบื่ออาหาร หิวแต่ทานไม่ลง เพราะอาหารน้อย คุณภาพต่ำเนื่องจากด้อยกำลังซื้อ รสชาติไม่ถูกปาก ผู้ป่วยบางรายมีอาการรุนแรงถึงกับทำอัตวินิบาตกรรม บางรายมีอาการผวาเมื่อถูกเรียกชื่อ พวกที่มีอาการรุนแรงบางจำพวกจะทำการประชดชีวิตโดยการเดินมาทำงาน แทนการโดยสารรถประจำทาง หรือแท็กซี่ หรือพยายามขึ้นรถโดยสารที่มีคนแน่นมาก ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับกระเป๋ารถเมล์ หรือเพื่อที่จะได้หลบหล ีกระหว่างบันไดหน้ากับบันไดหลังสลับไปมาได้รวดเร็ว และ ทันท่วงที อีกทั้งเพื่อพยายามให้ได้รับอากาศที่ปลอดโปร่ง จะได้กินลมเพื่อลดอาการหน้ามืด


การป้องกัน

ไม่ควรนำเด็กหรือสัตว์เลี้ยงเข้าใกล้ เมื่อผู้ป่วยมีอาการหงุดหงิด มิฉะนั้นจะได้รับอันตรายจากผู้ป่วยได้ ไม่ควรนำของมีค่าเข้าใกล้ในระยะสายตาและมือเอื้อมถึง


การรักษา

ยังไม่มียาชนิดใดที่จะบำบัดโรคนี้ได้โดยตรงในปัจจุบัน แต่สามารถรักษาได้ตามอาการที่ปรากฏ เช่นผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ (เป็นกันโดยมาก) ก็ควรใช้ยาลดไข้ 1-2 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมง ได้แก่ยาพาราเซตามอล ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะ

ถ้าผู้ป่วยมีอาการหงุดหงิด กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ควรใช้ยาคลายประสาท ตามที่แพทย์แนะนำ ห้ามใช้เกินขนาด เพราะจะเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้ (ห้ามใช้สตริกนินโดยเด็ดขาด)

ควรให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกาย พักผ่อน ในที่ลับตาคน อย่าพาผู้ป่วยออกนอกบ้าน เพราะอาจเผชิญหน้ากับเจ้าหนี้ได้ การกระทำเช่นนี้นอกจากจะไม่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นแล้ว กลับจะมีอาการทรุดหนักลงเรื่อย ๆ อาการดูน่าเป็น ห่วงอยู่ไม่น้อย แต่อาการของผู้ป่วยจะกระเตื้อง ตื่นเต้นได้อีกครั้งก็ถึงตอนปลายเดือนนั้น ๆ แต่บางรายก็ไม่ดีขึ้น กลับทรุดหนักลงไปอีก เนื่องจากการอักเสบของดอกเบี้ย

ไม่ควรนำผู้ป่วยไปรักษายังโรงพยาบาลเอกชนเพราะอาจจะทำให้เกิดอาการช็อคได้ เมื่อเห็นใบแจ้งหนี้ ทางที่ดีควรนำไปรักษายังสถานธนานุเคราะห์,สถานธนานุบาล โดย ให้ผู้ป่วยนำของที่มีค่าติดตัวไปด้วย ซึ่งเป็นการรักษาอย่างปัจจุบัน ทันด่วน และตรงตามอาการของโรคมากที่สุด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น