วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ทำไมยาคูลท์ถึงมีแต่ขนาด 80 ซีซี


เพราะยาคูลท์เป็นผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวที่ได้จากการหมักโดยเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นแบคทีเรียชื่อ แลคโตบาซิลลัส ที่ทำให้เกิดรสชาติเปรี้ยวเนื่องจากเกิดกรดขึ้นมาหลายชนิดระหว่างกระบวนการหมักซึ่งส่วนใหญ่เป็นกรดแลคติกปัจจุบันใช้เชื้อชื่อ Lactobacillus Balgaricu ร่วมกับ Stroptococcus themophilusในอุตสาหกรรมผลิตนมเปรี้ยวและโยเกิร์ต


โดยปกติธรรมชาติแล้ว จุลินทรีย์ชนิดนี้มีอยู่แล้วตามทางเดินอาหารของคนเราและเป็นจุลินทรีย์ที่ดีมีประโยชน์ ช่วยทำให้เกิดกระบวนการย่อยและหมักในทางเดินอาหารแต่ถ้ามีจำนวนมากเกินไปก็อาจเป็นอันตรายต่อเราได้เช่นเดียวกันคืออาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้เพราะจุลินทรีย์ผลิตกรดขึ้นมา




ซึ่งเป็นผลทำให้ยาคูลท์ผลิตขนาดเดียว คือ 80 ซีซี ที่พอเหมาะกับปริมาณของเชื้อแลคโตบาซิลลัสโดยจะสังเกตข้างขวดที่เขียนไว้ว่า มีปริมาณเชื้อแลคโตบาซิลลัส 8.0x109



ถ้าทำยาคูลท์ให้มีขนาดขวดใหญ่พอๆ กับยาคูทล์ 6 ขวดเล็กรวมกันแล้วละก็คงไม่ดีต่อผู้บริโภคแน่เพราะจะทำให้ได้รับปริมาณเชื้อแลคโตบาซิลลัสมากเกินพอหรือถ้าจะทำขนาด450ซีซีขึ้นมาจริงๆแล้วลดปริมาณแลคโตบาซิลลัสลงอาจจะทำได้แต่เชื่อแน่ว่ารสชาติของยาคูลท์อาจจะเปลี่ยนไปไม่อร่อยเหมือนเคย




และถ้าหากเราทานยาคูลท์วันละ 6 ขวด เพื่อความอร่อยแต่อาจเกิดโทษขึ้นได้ทานวันล่ะขวดก็เพียงพอแล้ว คนที่ไม่ทานเลยก็ไม่เป็นอะไรเพราะว่าในร่างกายของเรามีจุลินทรีย์ชนิดนี้อยู่เรียบร้อยแล้ว อีกเรื่องที่ควรสังเกตเพื่อความปลอดภัยของผู้ที่บริโภคยาคูลท์ก็คืออย่าลืมดูวันหมดอายุข้างขวดและเลือกซื้อจากตู้แช่ที่เก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้ได้จุลินทรีย์ที่พร้อมจะทำงานให้เราได้ทันที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ทำไมยาคูลท์ถึงมีแต่ขนาด 80 ซีซี


เพราะยาคูลท์เป็นผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวที่ได้จากการหมักโดยเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นแบคทีเรียชื่อ แลคโตบาซิลลัส ที่ทำให้เกิดรสชาติเปรี้ยวเนื่องจากเกิดกรดขึ้นมาหลายชนิดระหว่างกระบวนการหมักซึ่งส่วนใหญ่เป็นกรดแลคติกปัจจุบันใช้เชื้อชื่อ Lactobacillus Balgaricu ร่วมกับ Stroptococcus themophilusในอุตสาหกรรมผลิตนมเปรี้ยวและโยเกิร์ต


โดยปกติธรรมชาติแล้ว จุลินทรีย์ชนิดนี้มีอยู่แล้วตามทางเดินอาหารของคนเราและเป็นจุลินทรีย์ที่ดีมีประโยชน์ ช่วยทำให้เกิดกระบวนการย่อยและหมักในทางเดินอาหารแต่ถ้ามีจำนวนมากเกินไปก็อาจเป็นอันตรายต่อเราได้เช่นเดียวกันคืออาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้เพราะจุลินทรีย์ผลิตกรดขึ้นมา




ซึ่งเป็นผลทำให้ยาคูลท์ผลิตขนาดเดียว คือ 80 ซีซี ที่พอเหมาะกับปริมาณของเชื้อแลคโตบาซิลลัสโดยจะสังเกตข้างขวดที่เขียนไว้ว่า มีปริมาณเชื้อแลคโตบาซิลลัส 8.0x109



ถ้าทำยาคูลท์ให้มีขนาดขวดใหญ่พอๆ กับยาคูทล์ 6 ขวดเล็กรวมกันแล้วละก็คงไม่ดีต่อผู้บริโภคแน่เพราะจะทำให้ได้รับปริมาณเชื้อแลคโตบาซิลลัสมากเกินพอหรือถ้าจะทำขนาด450ซีซีขึ้นมาจริงๆแล้วลดปริมาณแลคโตบาซิลลัสลงอาจจะทำได้แต่เชื่อแน่ว่ารสชาติของยาคูลท์อาจจะเปลี่ยนไปไม่อร่อยเหมือนเคย




และถ้าหากเราทานยาคูลท์วันละ 6 ขวด เพื่อความอร่อยแต่อาจเกิดโทษขึ้นได้ทานวันล่ะขวดก็เพียงพอแล้ว คนที่ไม่ทานเลยก็ไม่เป็นอะไรเพราะว่าในร่างกายของเรามีจุลินทรีย์ชนิดนี้อยู่เรียบร้อยแล้ว อีกเรื่องที่ควรสังเกตเพื่อความปลอดภัยของผู้ที่บริโภคยาคูลท์ก็คืออย่าลืมดูวันหมดอายุข้างขวดและเลือกซื้อจากตู้แช่ที่เก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้ได้จุลินทรีย์ที่พร้อมจะทำงานให้เราได้ทันที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น